รายงานฉบับใหม่ของ IQAir บริษัทเทคโนโลยีคุณภาพอากาศสัญชาติสวิส ระบุว่า ในปี 2023 ที่ผ่านมา ได้เก็บข้อมูลจากศูนย์ตรวจสอบอากาศ 30,000 แห่งใน 7,812 เมืองของ 134 ประเทศและเขตแดน เพื่อวัดคุณภาพอากาศ และวิเคราะห์ว่า ประเทศหรือเมืองใด มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลกหากพิจารณาระยะเวลาทั้งปี

ผลการศึกษาพบว่า มีเพียง 7 ประเทศเท่านั้น ที่ระดับคุณภาพอากาศตลอดปี 2023 ไม่เกินเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) คือทั้งปีค่าฝุ่นไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเลย

7 ประเทศดังกล่าวประกอบด้วย ออสเตรเลีย, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, เกรนาดา, ไอซ์แลนด์, มอริเชียส และนิวซีแลนด์

ส่วนประเทศที่มีฝุ่นตลอดปีมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  • บังกลาเทศ ค่าฝุ่นเฉลี่ยต่อปี 79.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินเกณฑ์ 15 เท่า
  • ปากีสถาน ค่าฝุ่นเฉลี่ยต่อปี 73.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินเกณฑ์ 14 เท่า
  • อินเดีย ค่าฝุ่นเฉลี่ยต่อปี 54.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินเกณฑ์ 10 เท่า
  • ทาจิกิสถาน ค่าฝุ่นเฉลี่ยต่อปี 49.0 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินเกณฑ์ 9 เท่า
  • บูร์กินาฟาโซ ค่าฝุ่นเฉลี่ยต่อปี 46.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินเกณฑ์ 9 เท่า

ขณะที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 36 ค่าฝุ่นเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 23.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินเกณฑ์ประมาณ 4 เท่า

แต่หากพิจารณาเป็นรายเมือง พบว่า ใน 100 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในโลกนั้น เป็นเมืองในเอเชียถึง 99 เมือง และอยู่ในอินเดีย 83 เมือง และทั้งหมดมีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์ WHO มากกว่า 10 เท่าทั้งสิ้น โดยเฉพาะเมืองเบกูราไซของอินเดีย ค่าฝุ่นเฉลี่ยทั้งปีสูงถึง 118.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินมาตรฐานไปเกือบ 24 เท่า

รายงานระบุว่า ทั่วประเทศอินเดีย มีประชากรถึง 1.3 พันล้านคนหรือ 96% ที่ต้องใช้ชีวิตโดยมีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์ WHO อย่างน้อย 7 เท่าคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ที่น่าตกใจคือ จาก 99 เมืองเอเชียที่คุณภาพอากาศแย่ที่สุด มีเมืองจากประเทศไทยติด Top 10 อยู่ 2 เมือง นั่นคือ อ.พาน จ.เชียงราย (เฉลี่ยต่อปี 51.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และ อ.เมือง จ.เชียงราย (เฉลี่ยต่อปี 50.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

ส่วนเมืองที่คุณภาพอากาศทั้งปีดีที่สุดคือ คูซาโม, อุตส์โยกี และโซดันคีลา ของฟินแลนด์ ทั้งหมดมีค่าฝุ่นเฉลี่ยทั้งปีแค่ 0.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเท่านั้น

แฟรงค์ แฮมเมส ซีอีโอของ IQAir Global กล่าวว่า “เราเห็นแล้วว่ามลพิษทางอากาศมีผลกระทบในทุกส่วนของชีวิต และโดยปกติแล้ว ในประเทศที่มีมลพิษมากที่สุดบางประเทศ มีแนวโน้มจะลดอายุขัยของผู้คนได้ 3-6 ปี”

เมื่อสูดดมฝุ่น PM2.5 อนุภาคมลพิษนั้นจะเดินทางลึกเข้าไปในเนื้อเยื่อปอดซึ่งสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้ และมีความเชื่อมโยงกับโรคหอบหืด โรคหัวใจและปอด มะเร็ง และโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ รวมถึงความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็ก

แฮมเมสกล่าวว่า ระดับมลพิษในภูมิภาคจะไม่ได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ “หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและแนวทางปฏิบัติทางการเกษตร”

เขาเสริมว่า “สิ่งที่น่าเป็นห่วงในหลายส่วนของโลกก็คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศภายนอกอาคารบางครั้งก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศภายในอาคารด้วย … ดังนั้นการปรุงอาหารโดยใช้เชื้อเพลิงสกปรกจะสร้างฝุ่นมากกว่าที่คุณเห็นกลางแจ้งหลายเท่า”

เรียบเรียงจาก CNN / IQAir

 มีเพียง 7 ประเทศจากทั่วโลกที่คุณภาพอากาศดีตลอดปี 2023

รู้จัก “รยูจุนยอล” นักแสดงมากความสามารถ หนุ่มผู้ครองหัวใจสาวฮันโซฮี

ลูกน้องบิ๊กโจ๊ก แฉ! เส้นทางการเงิน “นายพล ต.-ครอบครัว”โยงเว็บพนัน BNK

เริ่มแล้ว! พายุฤดูร้อนถล่มหนัก! ฝนตก-ลูกเห็บตก บ้านเรือนเสียหายเพียบ

By admin