ความคืบหน้ากรณีหุ้น ITV ที่ก่อนหน้านี้มีข้อถกเถียงกันในหลายประเด็น อาทิ สถานะทางธุรกิจ ที่มีคำตอบจากบันทึกการประชุมจากคลิปวิดีโอและเอกสารไม่ตรงกัน
ล่าสุด ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับแบบนำส่งงบการเงินไตรมาสแรกของปี 2566 ที่พบการระบุประเภทธุรกิจสื่อว่าเป็น สื่อโทรทัศน์ โดยมีสินค้าและบริการเป้นสื่อโฆษณา
สำหรับเอกสารงบการเงินไตรมาสแรกปี 2566 มีความยาวทั้งหมด 22 หน้า และมีข้อมูลระบุว่า เป็นแบบร่างสำหรับใช้ภายใน ซึ่งหมายความว่าเป็นเอกสารที่ยังไม่ได้มีการรับรองคำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม
“พิธา” พร้อมสู้ปมหุ้น ITV ซัดมีความพยายามคืนชีพสกัดกั้นทางการเมือง
หุ้น ITV "วีระ" เชื่อมีขบวนการล้ม "พิธา"
น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยกับ PPTV ว่า เท่าที่ตรวจสอบเอกสารงบการเงินไตรมาสแรกของปี 2566 เนื้อหาน่าจะเป็นแบบเดียวกับที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ นำไปยื่นประกอบการร้องเรียน มีคำว่า สื่อโฆษณาอยู่ในเอกสาร 2 จุด
1.รายละเอียดบริษัทย่อย ที่กำหนดลักษณะธุรกิจ คือ ให้เช่าป้ายโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมแจ้งว่า ปัจจุบันหยุดดำเนินธุรกิจ
2.หมายเหตุประกอบงบการเงินแบบย่อ ข้อ 10 ระบุว่า เมื่อ 24 ก.พ.2566 บริษัทมีการนำเสนอการลงสื่อให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน และ 28 เม.ย. 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2566 มีมติรับทราบรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยเป็นผู้ให้บริการสื่อโฆษณา พร้อมระบุว่า จากการที่บริษัทได้มีการให้บริการแก่บริษัทในกลุ่มข้างต้น บริษัทจะเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
น.ส.สฤณี ตั้งคำถาม ว่า บริษัทไอทีวี ใช้พนักงานและอุปกรณ์อะไรในการให้บริการสื่อโฆษณา เพราะตอนที่ถูกสั่งให้ยุติการออกอาการ อุปกรณ์ถูกโอนย้ายให้ ไทยพีบีเอสทั้งหมด และ มีการเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดด้วย
นอกจากนี้ บริษัทไอทีวีไม่มีที่ตั้งบริษัทเป็นของตัวเองด้วยซ้ำ เพราะมีการจ้างขอใช้ที่ตั้งบริษัทอินทัชเป็นที่อยู่เดียวกัน ซึ่งจ่ายค่าเช่าที่อยู่ปีละ 2 แสนบาท
น.ส.สฤณี ยังตั้งคำถามว่า ในงบประจำปี 2565 ทั้งปี ไม่พบว่ามีข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับ สื่อโฆษณาเลย ยกเว้นใบปะหน้า แบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) แต่เรื่องสื่อโฆษณา มาอยุ่ในเอกสารไตรมาส 1 ดังนั้น นี่จึงเป็นข้อพิรุธ ว่า เอกสารผิดพลาดหรือไม่ ไม่ต้องกับข้อเท็จจริงหรือไม่
ทั้งหมดนี้นี่ถือเป็นข้อสังเกตใหม่ล่าสุด ที่ตั้งคำถามมาจากนักเศรษฐศาสตร์ จุดนี้ถือเป็นหนึ่งในข้อถกเถียงและข้อโต้แย้ง ว่า บริษัทไอทีวี เป็นสื่อโฆษณาจริงตามที่ระบุใน เอกสารจริงหรือไม่