ในช่วงนี้หลายคนคงเจอกับ SMS ปลอมที่ส่งมาในข้อความของธนาคารแห่งหนึ่งอย่างแนบเนียน แต่หากใครจำได้ จุดสังเกตว่าปลอมแน่ชัวร์ 100% เลยคือ มีการส่งแนบลิงก์มาด้วย ทั้งๆ ที่ธนาคารหลายแห่งในตอนนี้ได้ยกเลิกส่งลิงก์มายัง SMS หรือแม้กระทั่งในอีเมลแล้ว
แล้ว SMS จากมิจฉาชีพทำไมถึงถูกส่งมารวมกับ SMS ของธนาคารได้อย่างไร? ที่นี่มีคำตอบ จากธนาคารกสิกรไทย ได้บอกแล้วว่า วิธีการของมิจฉาชีพนั้น จะเป็นการส่งข้อความโดยไม่ผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ หรือเรียกว่า “False Base Station (FBS)” และตั้งชื่อผู้ส่งให้เหมือนกับองค์กรต่างๆ เพราะระบบมือถือเมื่อเป็นชื่อผู้ส่งเดียวกัน ก็จะจัดให้อยู่ในกล่องเดียวกัน ทำให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิด หลงเชื่อว่าข้อความดังกล่าวเป็นขององค์กรนั้นๆ จริง
ทั้งนี้ ธนาคารได้ยกเลิกการส่ง SMS แบบแนบลิงก์ ดังนั้น หากลูกค้าได้รับ SMS ที่มีลิงก์แนบ จะไม่ใช่ข้อความที่มาจากธนาคารอย่างแน่นอน (ยกเว้น ข้อมูลที่ลูกค้าขอผ่านช่องทางของธนาคาร)
นอกจากนี้ธนาคารกสิกรไทย ได้ย้ำเตือน สติที่ 1 บ่อยครั้งที่เราได้รับ SMS แปลกๆ เห็นแล้วตาลุกวาวกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น “คุณได้รับเงินกู้”, “คุณได้รับสิทธิเติมเงินฟรี”, “คุณได้รับอนุมัติสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ” มีแต่คำว่า “คุณได้” มาทำให้เราอยากได้ แต่เราเคยฉุกคิดไหมว่า เราไปกู้เงินจริงเหรอ? เราได้ขอสินเชื่อใช่ไหม?
แล้วใครส่งข้อความมาหาเรากันนะ? ใช่ธนาคารจริงหรือเปล่า? เมื่อเรารู้จักตั้งคำถามแล้ว นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการมีสติ ต่อไปมาดูจุดสังเกตง่ายๆ ว่า SMS แบบไหนจริง แบบไหนปลอม
-ชื่อผู้ส่ง ต้องน่าเชื่อถือ และไม่ใช่เบอร์แปลก
-เนื้อหา ต้องไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เกินจริง หรือให้ส่งข้อมูลสำคัญผ่าน SMS
-ลิงก์ ต้องสังเกตให้ดี หากเป็น URL แปลกๆ ห้ามกดเด็ดขาด
-ธนาคารไม่มีนโยบายการส่ง SMS แบบแนบลิงก์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกค้า (ยกเว้นข้อมูลที่ลูกค้าขอผ่านช่องทางของธนาคาร)
สติที่ 2 นอกจาก SMS แล้ว ยังมีอีเมลที่โจรออนไลน์มักใช้เป็นช่องทางหลอกเราได้ง่ายๆ อย่าได้ไว้วางใจ ทั้งอีเมลส่วนตัวและอีเมลที่ทำงาน ควรดูให้ดีก่อน อย่าเพิ่งคลิกลิงก์หรือกดไฟล์แนบใดๆ หากได้รับอีเมลต้องสงสัย มีวิธีตรวจสอบง่ายๆ ท่องไว้ให้ขึ้นใจ แปลก ปลอม แปะ เป็นแบบไหน มาดูกันเลยคำพูดจาก เว็บสล็อตเ
-ชื่อผู้ส่ง ชื่อแปลก ชื่อสะกดผิด ชื่อที่ดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ นั่นคืออีเมลปลอม
-การใช้ภาษาและเนื้อหา ใช้ภาษาไม่เป็นทางการ ไม่ระบุตัวตน เนื้อหาเป็นเรื่องเร่งด่วน หลอกให้กรอกข้อมูลสำคัญทางอีเมล นั่นคืออีเมลปลอม
-ลิงก์ปลอม เมื่อเอาเมาส์ชี้ที่ลิงก์ (ห้ามกดเด็ดขาด) พบว่า URL ไม่ตรงกับลิงก์ที่แสดงในเนื้อหาอีเมล นั่นคืออีเมลปลอม
-เอกสารแนบ ที่มีชื่อไฟล์น่าสงสัยและสกุลไฟล์แปลกๆ นั่นคืออีเมลปลอม
สติที่ 3 สุดท้าย เป็นภัยใกล้ตัวมาก เพราะใครๆ ต่างก็ใช้แชตคุยกับเพื่อน, ตกลงซื้อขายของกับพ่อค้าแม่ค้า หรือการพูดคุยใดๆ ก็ตาม โจรออนไลน์มักเข้ามาตีสนิท อาศัยความไว้ใจ ความสงสาร อ้างถึงคนที่เรารู้จัก แอบอ้างถึงหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ แล้วหลอกให้โอนเงินหรือขอข้อมูลสำคัญจากเรา คราวนี้ ใครทักแชตมาต้องเช็กให้ดีตามนี้นะ
-Profile ตรวจสอบให้ดีว่าคนที่แชตมาเป็นคนที่รู้จักหรือเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบได้หรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงการคุยกับคนที่ไม่รู้จัก
-ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลทางการเงิน ห้ามเปิดเผยเด็ดขาด
-ตรวจสอบเหตุการณ์จริงจากช่องทางอื่น เช่น โทรศัพท์ถาม อย่าเชื่อข้อความทางแชตอย่างเดียว
ที่สำคัญ ถ้ามีแชตที่แอบอ้างว่าเป็น ธนาคารกสิกรไทยทักมาคุย จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นธนาคารจริงๆ ไหม เรามีวิธีสังเกตมาแนะนำ
-ชื่อบัญชี LINE Official ของธนาคาร ต้องเป็นชื่อ KBank Live เท่านั้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
-สังเกตเครื่องหมายรับรองจากโปรแกรม LINE จะมีโล่สีเขียว หรือ Badge ดาวสีเขียวที่หน้าชื่อบัญชี
-หากไม่แน่ใจ ติดต่อสอบถามธนาคารผ่าน Chat KBank Live ช่องทางอื่น (Facebook) หรือ ศูนย์รับแจ้งเหตุและให้ข้อมูลภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพ 0-2888-8888 กด 001
-ถ้าพบการแอบอ้างว่าเป็นธนาคาร ให้ทำการรายงานศูนย์ช่วยเหลือของ LINE โดยกดปุ่มรายงานทันที